พบคนหมดสติ ควรปฏิบัตอย่างไร?

ภาวะวูปหมดสติคืออะไร? (Unconscious)

         “ภาวะหมดสติ” คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (Alterative of consciousness) ความรู้สึกตัวจะลดลง การรับรู้การกระตุ้นจากสิ่งรอบๆ ตัวจะลดลง การตอบสนองต่อการกระตุ้นลดลง หรือไม่มีเลย ผู้ป่วยจะไม่สามารถทรางตัวอยู่ได้ จะหมดสติและล้มลง

 

สาเหตุของการวูปหมดสติ?

          สาเหตุของการวูปหมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุหลักๆ คือ ทำให้เซลล์สมองขาดเลือด และนำไปสู่การขาดออกซิเจน เซลล์สมองจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การวูปหมดสติอาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง  และก็มีสาเหตุที่รุนแรงได้ ซึ่งเกิดจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือ

หมดสติแบบไม่รุนแรง

  • การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันหลายๆ วัน ร่างกายมีความอ่อนเพลีย ส่งผลให้เกิดการบีบตัวของหัวใจเกิดความอ่อนล้า ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองได้อย่างเพียงพอ ทำให้ความดันโลหิต (Blood pressure) ตกต่ำลงกว่าปกติ 
  • ทำกิจกรรมอยู่กลางแดดนานๆ ความร้อนทำให้เส้นเลือดส่วนปลายมีการขยายตัวทั่วร่างกาย เพื่อระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกาย ทำให้เลือดปริมาณมากไหลไปรวมกันอยู่ที่ส่วนล่างของร่างกาย ส่งผลให้มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • ไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา การขาดสารอาหารทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตพลังงานได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจเองก็ไม่สามารถบีบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • ออกกำลังกาย หรือทำงานหนักนานต่อเนื่องหลายชั่วโมง การใช้กำลังทำให้เกิดการเผาผลาญของเซลล์ในร่างกายมากขึ้น และทำให้เกิดความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องระบายความร้อนส่วนเกิดออกจากร่างกาย โดยการขับเหงื่อสู่บริเวณผิวหนังเพิ่มขี้น เมื่อเหงื่อระเหยจะนำความร้อนออกไปจากร่างกาย แต่การที่ร่างกายขับเหงื่อเพิ่มมากขึ้น เหงื่อจะนำเกลือ (Sodium) ซึ่งเป็นเกลือแร่ที่สำคัญของร่างกายออกไปจากระบบไหลเวียนโลหิตด้วย ทำให้เกิดเกลือแร่ในร่างกายขาดภาวะสมดุล (Electrolyte imbalance) หากเกิดในระดับปานกลางอาจส่งผลให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย ซับสนได้
  • การเสียเหงื่อ ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำระดับปานกลาง (Mind dehydration) จะทำให้เกิดภาวะเลือดหนืด จะทำให้ความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เกิดจากร่างกายได้รับปริมาณน้ำเข้าสู่ร่างกาย น้อยกว่าปริมาณน้ำที่เสียออกไปจากร่างกาย ซึ่งสามรถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาเจียน ถ่ายเหลว การได้รับยาขับปัสสาวะ
  • เป็นลมเวลามีประจำเดือน สามารถพบได้ในคนที่อายุน้อยๆ ร่างกายเล็กๆ น้ำหนักน้อยๆ ส่วนใหญ่ไม่ถึง 50 กิโลกรัม 

วีดีโอแสดง  ผู้ป่วยมีอาการเป็นลม และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การหมดสติที่อัตราย

  • หมดสติจากภาวะหัวใจวาย (Sudden Cardiac Arrest: SCA) เนื่องจากหัวใจหยุดทำงาน หรือไม่สามารถปั้มเลือดออกไปเลี้ยงเซลล์สมองได้อย่างเพียงพอ สมองจะหยุดทำงาน ส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายหยุดทำงานไปด้วยร่วมถึงหัวใจหยุดเต้นไปด้วย
  • หมดสติจากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งเกิดได้ 3 ลักษณะ คือ หลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) หลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic Stroke) และหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
  • เนื้องอกในสมอง (Brain tumor) หมายถึง เนื้องอกในสมอง ซึ่งมีหลายชนิด ทั้งแบบทั่วไป และแบบมะเร็ง หรือเนื้อร้าย เมื่อขนาดของก้อนเนื้อขยายใหญ่ขึ้นจะไปกดทับเนื้อสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดเลือดไปเลี้ยงจนถึงขันหมดสติได้ทันที
  • สมองได้รับการกระทบกระเทือน (Traumatic Brain Injury: TBI) หมายถึง ภาวะที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุแบบต่างๆ ทำให้เซลล์สมองเกิดการฉีกขาด และมีเลือดออกในสมอง ทำให้ผู้ป่วยหมดติทันที
  • ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) คือน้ำตางในต่ำว่า 60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น หรือมีน้ำตามในเลือดสูงกว่า 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น เรียกว่า ไฮเปอร์ไกลซีเมีย (Hyperglycemia) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหมดสติได้

การปฐมพยาบาล ผู้ป่วยหมดสติ

          หลักการปฐมพยาบาล ที่ถือเป็น “กฎเหล็ก” ที่จะต้องปฏิบัติในทุกๆ สถานการณ์ที่พบผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์เสมอ มีดังต่อไปนี้

1. ใช้ "คาถาที่ 1"

        “ประเมินสถานการณ์ – สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย” (Scene survey) คาถานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ป้องกันตัวเรา – นักปฐมพยาบาล – แพทย์ – พยาบาล – อาสากู้ชีพให้มีความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุก่อนทุกครั้ง” คือเราต้องไม่กลายเป็นผู้เจ็บป่วยเสียงเอง” ก่อนที่จะเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ป่วย

1.1 ประเมินสถานการณ์ 

         หมายถึง ให้เราใช้เวลาสั้นๆ 5-10 วินาที มองดูในที่เกิดเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร คนนอนหมดสติอยู่ข้างทางเดิน การทำร้ายร่างกาย อาวุธ มีด วัตถุระเบิด การเกิดเหตุจราจล คนนอนหมดสติมีกระปุกยาอยู่ข้างๆ คนนอนหมดสติมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ข้างๆ นอนหมดสติมีกองเลือดและบาดแผล ฯลฯ

ประเมินสถานการณ์ที่เกิดเหตุว่าปลอดภัย, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลออนไลน์ฟรี

ภาพแสดง การประเมินสถานการณ์ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย (ภาพจาก https://paladinsecurity.com/safety-tips/first-aid-refresher-emergency-scene-management/)

          ผู้เขียนขออนุญาตนำวีดีโอซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น (เป็นคลิบวีดีโอจาก FB ของ Khajornsak Thepsen เมื่อหลายปีก่อน) เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ สำหรับกรณีที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกๆ กรณี ขอให้เราประเมินสถานการณ์ก่อนเสมอว่าเกิดอะไรขึ้น จากนั้นให้ดูสิ่งแวดล้อมก่อนว่ามีอะไรที่จะเป็นอันตรายกับเราหรือไม่ ถ้ามีให้ควบคุมให้ปลอดภัยก่อน เมื่อสถานการณ์ปลอดภัยแล้วเราจึงจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย เน้นย้ำกฎเหล็กที่ว่า เราต้องไม่กลายเป็นผู้เจ็บป่วยเสียเอง” 

          จากวีดีโอ แสดงการทำงานของช่างไฟฟ้า จากนั้นเกิดอุบัติเหตุถูกไฟฟ้าช็อต ล้มลงขาติดอยู่กับคานเหล็ก ศรีษะจมอยู่ใต้น้ำ อีกซักครู่ก็มีเพื่อร่วมงานออกมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็ต้องถูกไฟฟ้าดูไปอีกคน โชคดีที่ไม่ถึงกับหมดสติ

          เราจะเห็นได้ว่าผู้ชายคนที่สอง ก่อนที่เข้าไปช่วยผู้ป่วยไม่ได้มีการประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย จึงทำให้เกิด “อุบัติเหตุซ้ำซ้อน” ดังนั้นเวลาที่ผู้เขียนไปบรรยายที่ใดก็แล้วแต่ ประเด็น “ความปลอดภัย” จะถูกนำมาเกริ่นนำก่อนทุกครั้ง

1.2 ประเมินสิ่งแวดล้อม

         ผู้ประสบเหตุการณ์ ก่อนที่จะเข้าไปประเมินอาการของผู้ป่วย นอกจากเราจะต้องรู้ว่า “เกิดอะไรขึ้น” แล้ว เรายังคงต้อง “ประเมินสิ่งแวดล้อม” ในสถานที่เกิดเหตุด้วยทุกครั้ง โดยสังเกตสิ่งต่อไปนี้

  • สารเคมี
  • วัตถุระเบิด
  • มีด – ปืน – ปลอกกระสุน หรืออาวุธอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็น “วัตถุพยานทางกฎหมาย” หากไม่มีความรู้ไม่ควรแตะต้องแจ้ง 191 หรือ 1669 ให้รับทราบ
  • การจราจรที่พลุกพล่าน
  • สายไฟฟ้า
  • เพลิงไหม้
  • การถล่มทลายของสิ่งก่อสร้าง
  • สุนัข (กรณีที่เข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในบ้าน)

1.3 ประเมินความปลอดภัย

          2.  ใช้ “คาถาที่ 2” เมื่อที่เกิดเหตุปลอดภัยดีแล้ว เราจึงเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย โดยเราจะต้องประเมินอาการของผู้ป่วยโดยประเมิน 3 ระบบที่สำคัญ  คือ “ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบไหลเวียน” เพื่อให้จำได้ง่ายๆ สามารถใช้คำว่าประเมิน “สมอง-หายใจ-ไหลเวียน” ก็ได้ครับ “สมอง” คือการประเมินการทำงานของระบบประสาท “หายใจ” คือ การประเมินการทำงานของระบบหายใจ “ไหลเวียน” คือ การประเมินการทำงานของระบบไหวเวียน เราจะประเมินทั้ง 3 ระบบนี้กับผู้ป่วยฉุกเฉินทุกโรค หรือทุกกรณีการเจ็บป่วย

        2.1 ประเมินระบบประสาท โดยการประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ด้วยการ “ตบที่ไหล่ทั้งสองข้าง พร้อมเรียกด้วยเสียงที่ดังพอสมควร” หากผู้ป่วยไม่ต้องสนองต่อการกระตุ้น ให้เรา ” ยกมือทั้งสองข้างกวักมือเพื่อแสดงสัญญาณขอความช่วยเหลือ และตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ” “ช่วยด้วยๆ มีคนหมดสติอยู่ทางนี้” 

อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นออนไลน์ฟรี, ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยฉุกเฉิน

การประเมินการทำงานขอระบบประสาท

โดยใช้มือตบที่ไหล่ทั้งสองข้างของผู้ป่วย พร้อมตะโกนเรียกด้วยเสียงที่ดังพอสมควร

อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นออนไลน์ฟรี, ขอความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน

ตะโกนขอความช่วยเหลือ

หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อเสียงเรียก ให้ชูมือทั้งสองข้าง พร้อมตะโกนขอความช่วยเหลือ

ภาพแสดง การจัดอบรมหลักสูตร First Aid – CPR and AED ณ โรงแรมอมารี พัทยา เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 โดย คูรตู่ สอนกู้ชีพ วิทยากรจัดอบรมและผู้อำนวยการโรงเรียนอีสเทิร์น ซีบอร์ด บริบาล

         2.2 ประเมินระบบหายใจ เพื่อดูว่าผ้ป่วย ยังหายใจอยู่หรือไม่ โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

               2.2.1 เปิดทางเดินหายใจด้วยเทคนิคกดหน้าผาก – ยกขากรรไกร” (Head Till Chin Lift) วิธีนี้จะใช้เมื่อเรามั่นใจว่าผู้ป่วย “ไม่มีการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ” (Cervical Spine Injury) โดยใช้มือวางที่หน้าผากผู้ป่วย แล้วใช้สองนิ้วของมืออีกข้างยกขากรรไกรล่างฝั่งใกล้ตัวผู้ช่วยเหลือ แล้วยกขากรรไกรขึ้น 

หมดสติ, เปิดทางเดินหายใจ, ปฐมยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นออนไลน์ฟรี

ภาพแสดง การเปิดทางเดินหายใจ กดหน้าผากยกขากรรไกรล่าง (Head Till Chil Lift) ในการอบรมหลักสูตร First Aid – CPR and AED บริษัท โททาลเอ็นเนอร์ยี่ คอร์เบียน บ้านฉาง เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 66

                 2.2.2 เปิดทางเดินหายใจด้วยเทคนิคยกมุมขากรรไกรล่าง” (Jaw thrust maneuver) กรณีที่คาดว่าผู้ป่วยจะ “มีการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลังส่วนต้นคอ” ซึ่งส่วนใหญ่พบได้ในผู้ที่ประสบอุบัติเหตุชนิดต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางการจราจร ตกจากที่สูง ถูกฟาดที่ศีรษะและต้นคอ เป็นต้น ข้อสังเกตุว่าผู้ป่วยอาจมีการบาดเจ็บของกระดูกและไขสังหนังส่วนต้นคอ คือ  กรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว “ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บบริเวณใบหหน้า และ/หรือศีรษะร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึก” (Alteration of Consciousness: AOC) 

หมดสติ, เปิดทางเดินหายใจ, ปฐมยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นออนไลน์ฟรี

วางนิ้วโป้งทั้งสองข้างบนโหนกแก้มของผู้ป่วยเพื่อเป็นจุดค้ำยัน

หมดสติ, เปิดทางเดินหายใจ, ปฐมยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นออนไลน์ฟรี

นิ้วที่เหลือทั้งสองมือ วางตรงใต้มุมของกระดูกขากรรไกรล่าง

หมดสติ, เปิดทางเดินหายใจ, ปฐมยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นออนไลน์ฟรี

บีบมือทั้งสองข้างเพื่อยกขากรรไกรล่างขึ้นพร้อมกัน โดยไม่ให้มีการขยับของต้นคอ

             2.2.3 ประเมินการหายใจ แนะนำให้ประเมินว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ “โดยการมองที่ท้อง” สาเหตุที่ไม่แนะนำให้มองที่หน้าอกแม้ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งของปอดทั้งสองข้าง เนื่องจากว่าขณะที่ผู้ป่วยหมดสติกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจจะทำงานลดลง ทำให้สังเกตการขยับขึ้นลงของหน้าอกได้ยากกว่าการมองที่ท้อง

2.3 ประเมินการไหลเวียนโลหิต เราสามารถประเมินการไหลเวียนโลหิต หรือการเต้นของหัวใจได้ด้วยการจับชีพจรในตำแหน่งที่มีเส้นเลือดแดงผ่าน อย่างไรก็ตามในบทนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำการจับชีพจรที่ใช้บ่อยๆ ในสองสถานการณ์ดังต่อไปนี้

        2.3.1 กรณีผู้ป่วยรู้สึกตัว เรานิยมจับชีพจรอยู่ 2 ตำแหน่งคือ “ที่ข้อมือ” (Radial pulse) โดยทั่วไปแพทย์ พยาบาลนิยมตรวจชีพจรในตำแหน่งนี้เป็นหลัก แต่หากกรณีที่ตรวจประเมินในตำแหน่งนี้ไม่ชัดเจน เราจะไปตรวจที่ “ข้อพับแขน” (Brachial pulse) แทน เนื่องจากเส้นเลือดแดงตำแหน่งนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่ข้อมือ ทำให้เราสามรถจับชีพจรได้ชัดเจนขึ้น

เช็คชีพจรที่ข้อมือ, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลออนไลน์ฟรี

ชีพจรที่ข้อมือ (Radial pluse)

ใช้นิ้วโป้งวางไว้ด้านหลังข้อมือ ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางกดลงตำแหน่งข้อมือ แนวของโคนนิ้วโป้ง ออกแรงกดเล็กน้อย

เช็คชีพจรที่ข้อพับแขน, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลออนไลน์ฟรี

ชีพจรที่ข้อพับแขน (Brachial pulse)

ใช้นิ้วโป้งวางที่กระดูกข้อศอกด้านใน ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางกดตรงข้อพับแขน ตรงแนวของนิ้วก้อย

         2.3.2  กรณีผู้ป่วยไม่รู้สีกตัว เรานิยมจับชีพจรอยู่ 2 ต่ำแหน่ง คือ “ที่ขาหนีบ” (Femural pulse) ตำแหน่งนี้จะเหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากจะประเมินได้ยาก และชีพจร “ที่ข้างลำคอ” (Carotid pulse) ตำแหน่งนี้ประชาชนทั่วไปสามารถฝึกการประเมินชีพจรในต่ำแหน่งนี้ได้

เช็คชีพจรที่ขาหนีบ, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลออนไลน์ฟรี

ชีพจรที่ขาหนีบ (Femural pluse)

ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางวางตรงตำแหน่งของข้อพับขาหนีบ กดลึก 1-2 ซ.ม. ให้รู้สึกการเต้นของชีพจร

เช็คชีพจรที่ลำคอ, อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น, อบรมปฐมพยาบาลออนไลน์ฟรี

ชีพจรที่ลำคอ (Carotid pulse)

ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางที่หลอดลม แล้วลากนิ้วทั้งสองเข้าหาตัวเอง กดปลายนิ้วลงข้างหลอดลมเล็กน้อยให้รู้สึกการเต้นของชีพจร

         จากประสบการณ์การทำงานของผู้เขียน แนะนำว่าการจับชีพจรสำหรับคนทั่วไปแนะนำให้จับ “ชีพจรที่ลำคอ” เป็นหลัก เนื่องจากสามารถฝึกปฏิบัติได้ง่ายกว่าที่บริเวณขาหนีบ

Note: จากข้อเสนอแนะ (Recommend: เป็นเพียงข้อเสนอแนะ ไม่ใช่ข้อกำหนด) จากสมาคมโรคหัวใจอเมริกา กล่าวว่า "สำหรับประชาชนทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเช็คชีพจร" เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ล่าช้าในการที่จะเริ่มทำ CPR ในกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะ "หัวใจวายเฉียบพลัน" (Suden Cardiac Arrest) อย่างไรก็ตามในฐานะของผู้เขียนที่อบรมเรื่องของการปฐมพยาบาล (First Aid) ร่วมอยู่ด้วย และตำราของต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น First Aid and CPR ของ National Safety Council (Third Edition) ก็ยังกล่าวถึงเรื่องของการเช็คชีพจรอยู่ ดังนั้นในที่นี้จะมีเนื้อหาเรื่องของการ "ปฐมพยาบาล" อยู่ด้วย ผู้เขียนจึงขออนุญาตกล่าวถึงเรื่องของการเช็คชีพจรไว้ด้วย เพียงหวังให้เนื้อหามีความครอบคลุมตามมาตรฐานสากล หากเนื้อหานี้ไม่ตรงกับความคิดของนักวิชาการท่านใด ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยและพร้อมรับข้อเสนอแนะด้วยความเคารพ

สรุป "คาถาที่ 2"

เอกสารอ้างอิง

1 https://medlineplus.gov/ency/article/000022.htm
2  https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/fainting#bhc-content
3 https://www.merckmanuals.com/home/hormonal-and-metabolic-disorders/water-balance/dehydration
4  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507854/
5 https://www.youtube.com/watch?v=umQ6rJRzY3E
6  https://drsant.com/2010/09/blog-post_06-2.html
7 https://healthmatters.nyp.org/what-is-a-mini-stroke/
8  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24103816/
9 https://www.spinalcord.com/blog/what-happens-after-a-lack-of-oxygen-to-the-brain
10 https://paladinsecurity.com/safety-tips/first-aid-refresher-emergency-scene-management/

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top